Design a site like this with WordPress.com
เริ่มได้

KFC กินได้ไหม ? แจงโดย “เครือข่ายผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ฮาลาล”

คำถามนี้ “เครือข่ายผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ฮาลาล” โดยท่านอาจารย์รังสรรค์(ยะห์ยา) ทองทา อาจารย์สมชาย เกิดอยู่ และคณะ เคยขอเข้าไปสอบถามโดยตรงจาก “เคเอฟซี” มาแล้ว ในวันนี้เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา

จนถึงวันนี้ ความคืบหน้าในการเจรจาขอตราฮาลาล กับกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย และกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ก็ยังไม่มีจุดที่ลงตัวกันได้

คำถามคือใครเรื่องเยอะ? ผู้ประกอบการ หรือกรรมการ? จนความเคลือบแคลงนี้ไม่เคยได้รับการแก้ไข…

คำตอบ เชื่อว่า “คนที่เยอะ” จะรู้อยู่แก่ใจท่านเอง…

#สื่ออิสระ ขอเชิญพี่น้องผู้สนใจพิจารณา สรุปผลการประชุมของ “เครือข่ายผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ฮาลาล” ดูครับ

อัสสลามุอาลัยกุมฯ พี่น้องมุสลิม และสมาชิกเครือข่ายผู้บริโภคอาหารฮาลาล
วันนี้ 14.00 น. ตัวแทนเครือข่ายผู้บริโภคอาหารฮาลาล และสื่อมวลชนมุสลิม นำโดย…
ท่านอาจารย์รังสรรค์ ทองทา อ.สมชาย เกิดอยู่ อ.สุชาติ สุวรรณดี คุณเอกราช มูเก็ม บก.นิตยสารอลามี่ คุณธีรยุทธ อีซอ ผู้แทนสถานีวิทยุมือนารอ นราธิวาส และ ผมอัยยูบ ศิลปวงษา สื่ออิสระ

ได้เข้าเยี่ยมเยียนผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานจัดการวัตถุดิบผลิตภัณฑ์ จัดปรุงอาหาร จัดจ้างพนักงาน โดยการประสานงานของผู้จัดการส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายการตลาด คุณณิชารัศมิ์ อาชญาสิทธิวัตร ของบริษัท เคเอฟซี

เพื่อสอบถามและหารือ ข้อสงสัยของพี่น้องมุสลิมกรณี “ไก่ KFC ฮาลาลหรือไม่ เหตุใดจึงให้เด็กมุสลิมะห์ไปขายหน้าเคาน์เตอร์” โดยได้รับคำตอบครบทุกข้อตามที่โพสต์แจ้งแก่พี่น้องแล้วครับ

ประเด็นหารือ ระหว่าง KFC กับ เครือข่ายผู้บริโภคอาหารฮาลาล

1. ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในร้าน KFC สาขาใดบ้างที่ฮาลาลทั้งหมด

KFC : ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ KFC ฮาลาลทั้งหมด และเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขาทั่วประเทศ ทั้งไก่ ซีฟู้ด นักเก็ต และเครื่องปรุงทุกชนิด โดยได้แสดงเอกสารที่ได้รับตราฮาลาลประกอบ (ฉายขึ้นจอโปรเจคเตอร์)
KFC ยังได้เปิดเผยตรงๆ ว่า ก่อนเข้าประชุมกับผู้แทนเครือข่าย ได้ตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้ง พบว่าซัพพลายเออร์ผู้ผลิตนักเก็ต รายหนึ่งไม่ได้ขอต่อตราฮาลาลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชี้แจงว่าจะดำเนินการให้เป็นไปตามเดิมต่อไป

เครือข่ายผู้บริโภคอาหารฮาลาล : ขอขอบคุณที่เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา (โดยเฉพาะกรณีนักเก็ต) แต่สมควรให้มีคณะบุคคลที่มีความรับผิดชอบ และไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ KFC
คอยตรวจสอบแทนพี่น้องมุสลิม เพื่อความมั่นใจของผู้บริโภคมุสลิม มิฉะนั้นจะเป็นการให้ข้อมูลด้านเดียว อีกทั้งยังเป็นการป้องกันกรณีนักเก็ตไม่ต่อฮาลาล ไม่ให้เกิดขึ้นอีกด้วย

2. เหตุใดจึงไม่ขอฮาลาลฯ ในสาขาที่ฮาลาล (เครือข่ายฯ ได้รับข้อมูลว่า KFC ไม่แสดงความจำนงค์ขอฮาลาล)

KFC : เคเอฟซี มีความสนใจในเรื่องนี้ แต่เนื่องจากมาตรฐานการผลิตอาหารฮาลาลของ KFC ที่ใช้กับทุกประเทศทั่วโลก มีความแตกต่างกับกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการอนุมัติฮาลาล ต้องขอไปยังแต่ละจังหวัด(แยกขอเป็นรายจังหวัด) ซึ่งมีมาตรฐานต่างกัน จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามที่แต่ละจังหวัดต้องการได้
อย่างไรก็ตาม KFC เคยได้รับตราฮาลาลจาก กรรมการอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต และกระบี่ มาแล้วเมื่อไม่นานมานี้

เครือข่ายผู้บริโภคอาหารฮาลาล : เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะพูดคุยหาข้อยุติกับ KFC โดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญได้

2.1 เคเอฟซี ขัดข้องเรื่องค่าธรรมเนียมตรวจฮาลาลรายปี ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไหม หากจะต้องขอฮาลาลทั้งหมดทุกสาขาทั่วประเทศ (ประมาณ 550 สาขา)

KFC : หากการกำหนดมาตรฐานฮาลาล เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ เรื่องค่าใช้จ่ายดังกล่าว KFC (ประเทศไทย) ยินดีหารือสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ (ระดับภูมิภาค) เพื่อ
หาบทสรุปที่จะไม่เป็นภาระกับผู้บริโภค

เครือข่ายฯ : (ไม่มีความเห็นในส่วนนี้)

3. ปัจจุบัน KFC ใช้ไก่ที่มาจากโรงเชือดที่ฮาลาลทั้งหมดทุกสาขาหรือไม่

KFC : ยืนยันว่าเป็นไก่ฮาลาล จากโรงเชือดที่ฮาลาลทั้งหมด

เครือข่ายฯ : สมควรให้มีคณะบุคคลที่มีความรับผิดชอบ และไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ KFC คอยตรวจสอบแทนพี่น้องมุสลิม เพื่อความมั่นใจของผู้บริโภคมุสลิม มิฉะนั้นจะเป็นการให้ข้อมูลด้านเดียว

4. ในสาขาที่ห่างไกลจากโรงเชือดที่ฮาลาล หากวัตถุดิบ(เนื้อไก่)หมด เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการซื้อไก่ไม่ฮาลาลมาขายแทน

KFC : เป็นไปไม่ได้ เพราะวัตถุดิบไม่ได้มาตรฐาน

เครือข่ายฯ : สมควรให้มีคณะบุคคลที่มีความรับผิดชอบ และไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ KFC คอยตรวจสอบแทนพี่น้องมุสลิม เพื่อความมั่นใจของผู้บริโภคมุสลิม มิฉะนั้นจะเป็นการให้ข้อมูลด้านเดียว

5. กระบวนการปรุง ของเชฟในร้าน เคเอฟซี มีขั้นตอนอย่างไร
6. มาตรฐานความสะอาดของพนักงานที่เกี่ยวกับการปรุง และการเสริฟ ในสาขาที่ฮาลาล (ถ้ามี) เป็นอย่างไร

(ตอบข้อ 5,6) KFC : เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก (ซึ่งได้รับฮาลาลในประเทศอื่นๆ)

เครือข่ายฯ : สมควรให้มีคณะบุคคลที่มีความรับผิดชอบ และไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ KFC คอยตรวจสอบแทนพี่น้องมุสลิม เพื่อความมั่นใจของผู้บริโภคมุสลิม มิฉะนั้นจะเป็นการให้ข้อมูลด้านเดียว

7. ร้าน KFC สาขาที่ฮาลาล (ถ้ามี) จะสามารถสร้างความมั่นใจต่อเนื่อง ด้วยการเปิดให้ตัวแทนพี่น้องมุสลิมในพื้นที่ เข้าเยี่ยมชมสาขาโดยไม่แจ้งล่วงหน้าได้หรือไม่

KFC : หากเป็นหน่วยงานที่ได้มีข้อตกลงและไม่ขัดต่อมาตรฐานของ KFC สามารถทำได้ เนื่องจาก KFC ไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่จัดเตรียมและปรุงอาหาร

เครือข่ายฯ : เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สมควรหารือกับ KFC เพื่อหาข้อสรุป โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

8. เพื่อเป็นทางเลือกในการบริโภคอาหารฮาลาล KFC มีนโยบายด้านฮาลาล ในอนาคตอย่างไร

KFC : ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างต้องฮาลาลทั้งหมด

เครือข่ายฯ : ขอบคุณในเจตนาดีนี้

9. หาก KFC มีผลิตภัณฑ์ที่ไม่ฮาลาลจำหน่าย จะสามารถโยกย้ายเจ้าหน้าที่สตรีมุสลิมไปประจำตำแหน่งอื่น ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ขายหน้าเคาน์เตอร์ ได้หรือไม่

KFC : ไม่มีผลิตภัณฑ์ไม่ฮาลาล และการจ้างงานเยาวชนมุสลิมะห์ เป็นไปด้วยความเคารพในการปฏิบัติและแต่งกายตามศาสนา โดยจะพิจารณาใช้คนในพื้นที่ เพื่อการสร้างงาน ซึ่งเป็นนโยบายสากลของ KFC

เครือข่ายฯ : ขอขอบคุณที่ให้เกียรติการปฏิบัติตามหลักศาสนา แต่ก็มีข้อสังเกตุว่าการใช้มุสลิมะห์ประจำหน้าเคาน์เตอร์ เป็นการแอบแฝงให้คนเข้าใจว่ามีการรับรองฮาลาลหรือไม่ อีกทั้ง
ทำให้เกิดข้อถกเถียงเรื่องนี้ในสังคมมุสลิมเป็นอย่างมาก สมควรร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ให้ความสับสนนี้ยุติโดยเร็วโดยเฉพาะในสาขาที่มีมุสลิมหนาแน่น

หมายเหตุ : การเยี่ยมเยียน KFC ครั้งนี้ เป็นการพูดคุยในห้องประชุม เครือข่ายฯ แสดงเจตนารมณ์ ตรวจบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดที่จัดส่งเข้าร้าน และขอเยี่ยมชมบางสาขาและสัมภาษณ์พนักงานมุสลิม
ซึ่งทาง KFC ขอรับไว้พิจารณา

ผู้บันทึกการประชุม
อัยยูบ ศิลปวงษา

[#สื่ออิสระ รายงาน]

(8/03/2018)

%d bloggers like this:
close-alt close collapse comment ellipsis expand gallery heart lock menu next pinned previous reply search share star